วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

การ์ดแลน 



การ์ดแลน (LAN Card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็จะต้องมีการ์ดแลนเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ADSL ตามบ้าน มักจะใช้การ์ดแลนเป็นตัวเชื่อเมต่ออีกด้วย การใช้การ์ดแลน จะใช้ควบคู่กับสายแลนประเภท UTP หรือสายที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคือสาย CAT5, CAT5e, CAT6 เป็นต้น

สายแลนมี 2 แบบ คือแบบตรง กับแบบไขว้

แบบตรง ใช้สำหรับต่ออุปกรณ์โดยใช้ Switch หรือ Hub เป็นตัวแยกสัญญาณ
แบบไขว้ ใช้สำหรับต่ออุปกรณ์ประเภทเดียวกัน เข้าหากัน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ Switch ต่อกับ Switch Router ต่อกับ Router
หรือ ใช้สำหรับต่ออุปกรณ์ต่างชนิดกัน แต่มีการทำงานระดับเดียวกัน (layer 3 - layer 7) เข้าหากัน เช่น คอมพิวเตอร์ ต่อกับ Router คอมพิวเตอร์ ต่อกับ UT UT ต่อกับ ATA





การจะดูว่าเป็นสายตรง หรือสายไขว้ ให้ถอดเอา หัวสายแลนมาหงาย เทียบสีดู ถ้าทั้ง สองหัว สีเหมือนกันก็เป็นสายตรง ถ้ามีสลับสี เส้นที่ 1 กับเส้นที่ 3 และ เส้นที่ 2 กับเส้น ที่ 6 ก็เป็นสายไขว้



 เครื่องทวนสัญญาณ (repeater)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ต่ออื่น เหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ เนื่องจากการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็นสายสัญญาณนั้น เมื่อระยะทางมากขึ้นแรงดันของสัญญาณจะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณในระยะทางไกลๆ ได้ ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณจะทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดยสัญญาณไม่สูญหาย




 ฮับ (hub)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน สัญญาณที่ส่งมาจากฮับจะกระจายไปยังทุกเครื่องที่ต่ออยู่กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น




บริดจ์ (bridge)

ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลเดียวกัน ซึ่งมีความสามารถมากกว่าฮับและอุปกรณ์ทวนสัญญาณ คือ สามารถกรองข้อมูลที่ส่งต่อได้ โดยการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งนั้นปลายทางอยู่ที่ใด หากเครื่องปลายทางอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันกับเครื่องส่ง ก็จะส่งข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ไม่ส่งไปยังเครือข่ายอื่น





อุปกรณ์จัดหาเส้นทาง (router)

สามารถกรองข้อมูลได้เช่นกับบริดจ์ แต่จะมีความสามารถมากกว่า โดยจะหาเส้นทางในการส่งกลุ่มข้อมูล (data packet) ไปยังเครื่องปลายทางในระยะทางที่สั้นที่สุดได้




 สวิตซ์ (switch) 

นำความสามารถของฮับกับบริดจ์มารวมกัน แต่การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเหมือนกับฮับ เพราะสวิตซ์จะทำหน้าที่รับกล่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์เครื่องใด แล้วนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งช่วยลดปัญหาการชนกันหรือความคับคั่งของข้อมูล





สาย UTP 





ก่อนอื่นเรามารู้จักสาย LAN กันซักหน่อย สาย LAN ที่คนส่วนใหญ่รู้จักและใช้งานอยู่นั้นมีชื่อ เรียกอย่างเป็นทางการว่า สาย UTP หรือสาย CAT5 นั่นเองสาย UTP เป็นสายสัญญาณที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันย่อมาจากคำว่า Unshielded Twisted Pair เป็นสายขนาดเล็กที่ไม่มีชีลด์ห่อหุ้ม มีเส้นตีเกลียวเป็นคู่ ๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวนในการเชื่อมต่อจะใช้หัวต่อแบบ RJ-45เป็นสองหัวต่อสาย 1 เส้นสามารถต่อสายได้ยาวสูงสุดประมาณ100 เมตร อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อคือสาย UTP,คีมยั้มหัว RJ-45,และชุดทดสอบสาย (Network Cable Tester)


การเรียงสายแบบมาตรฐานของสาย LAN จะมีอยู่ 2 แบบ คือ



การเข้าหัวLAN สำหรับทำสายตรง (Straight-Through Cable) การเข้าหัว LAN สำหรับทำสายตรงนั้นมีสองแบบดังนี้
การเข้าหัวทั้งสองฝั่งเป็นแบบ TIA/EIA 568A ดังรูปข้างล่าง 
การเข้าหัวทั้งสองฝั่งเป็นแบบ TIA/EIA 568B ดังรูปข้างล่าง 
ภาพการเรียงสายแบบมาตรฐานของสาย UTP <<>li>การเข้าหัว LAN สำหรับการทำสายครอส (Crossover Cable) การเข้า LAN สำหรับการทำสายครอสนี้สามารถทำได้ง่ายๆ คือ ฝั่งหนึ่งเข้าหัวตามมาตรฐาน TIA/EIA 568A และอีกฝั่งหนึ่งเข้าหัวตามมาตรฐาน TIA/EIA 568B ดังรูปข้างล่าง







Pin 1 เข้า Pin 3 ของอีกฝั่ง
Pin 2 เข้า Pin 6 ของอีกฝั่ง
Pin 3 เข้า Pin 1 ของอีกฝั่ง
Pin 6 เข้า Pin 2 ของอีกฝั่ง




สายแลน STP






ลักษณะทางกายภาพของสาย STP
สายแลน STP คือ เป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในสายสัญญาณแบบ UTP แต่ไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายเนื่องจากราคาสายสัญญาณที่แพงกว่าเมื่อเทียบสัญญาณแบบ UTP
ข้อดีของสาย STP - ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP
- ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ
ข้อเสียของสาย STP - มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก
- ราคาแพงกว่าสาย UTP




RJ-45



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ rj45


คือ หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว (สายคือ หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว (สาย UTP) ตัวผู้ มี 2 ชนิด ได้แก่ 1.หัวต่อตัวผู้ RJ-45 (หรือที่เรียกว่ RJ-45 Connecter หรือ RJ-45 Jack Plug) เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสาย UTP มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมคล้ายหัวต่อโทรศัพท์ มีช่องสำหรับเสียบสายที่ด้านหลัง ด้านล่างเรียบ ส่วนด้านบนมีตัวล๊อค ถ้าหันหน้าเข้าด้านหน้าของหัวต่อพิน 1 จะอยู่ทางด้านซ้ายมือของเรานะคะ ในขณะที่พิน 8 จะอยู่ทางขวามือ2.หัวต่อตัวเมีย RJ-45 (หรือเรียกว่า RJ-45 Jack Face) มีลักษณะเป็นเบ้าเสียบสำหรับหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ เมื่อมองจากด้านที่จะนำหัวต่อตัวผู้เสียบ พิน 8 จะอยู่ทางซ้าย ส่วนพิน 1 จะอยู่ทางขวา หัวต่อตัวเมียจะมีลักษณะเป็นกล่องมีช่องสำหรับเสียบหัวต่อ ด้านในกล่องจะมีขั้วซึ่งจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับสายนำสัญญาณhubH U B หรือ Repeater อุปกรณ์ทีใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการกระจายสัญญาณ หรือข้อมูล จะต้องใช้ไฟหล่อเลี้ยงในการทำงาน โดยปกติการเลือก Hub จะดูที่จำนวน Port ที่ต้องการ เช่น 8 ports, 12 ports, 24 ports รวมทั้ง 48 ports เป็นต้น จำนวน port หมายถึง จำนวนในการเชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้าด้วยกัน ดังนั้น Hub 24 ports หมายถึง สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย เข้าด้วยกัน จำนวน 24 เครื่อง





สายโคแอ็กซ์เชียล







สายโคแอ็กซ์เชียล(coaxial cable) เป็นสายสัญญาณที่ใช้เป็นสื่อกลางการเดินทางของข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(computer network) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้และเป็นที่นิยมมากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สายสัญญาณอีกประเภทหนึ่ง คือ สายคู่เกลียวบิดและสายใยแก้วนำแสง ส่วนสายโคแอ็กซ์เชียลถือว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบเครือข่ายบางประเภทที่ใช้สายแบบนี้อยู่สายโคแอ็กซ์เชียลมักถูกเรียกสั้นๆว่า สายโคแอ็กซ์(coax) มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ คือ มีแกนร่วมกัน นั่นหมายความว่า ตัวนำไฟฟ้าทั้งสองตัวมีแกนร่วมกันนั่นเอง โครงสร้างของสายโคแอ็กซ์ประกอบไปด้วย สายทองแดงป็นแกนกลาง ห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง เป็นแผ่นโลหะบางหรืออาจเป็นใยโลหะที่ถักเป็นเปียหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ชั้นสุดท้ายเป็นฉนวนหุ้มและวัสดุป้องกันสายสัญญาณส่วนที่เป็นแกนของสายทำหน้าที่นำสัญญาณข้อมูล ชั้นใยข่ายจะเป็นชั้นที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดินไปในตัว ดังนั้น ทั้งสองส่วนนี้จึงไม่ควรเชื่อมต่อกัน เนื่องจากจะทำให้ไฟช็อตได้




เทอร์มิเนเตอร์


เทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูดซับสัญญาณที่ส่งมาทางสายเคเบิล โดยจุดปลายของเครือข่ายจะต้องมีตัวเทอร์มิเนเตอร์นี้ติดอยู่เสมอ พูดง่ายๆ ก็คือ เทอร์มิเนเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หยุดสัญญาณไม่ให้สะท้อนกลับไปให้สะท้อนไปให้เกิดสัญญาณรบกวนได้ สายเคเบิลแต่ละแบบของเครือข่ายก็อาจจะใช้เทอร์มิเนเตอร์หน้าตาแตกต่างกันไปได้








T-Connector






 T- Connector เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่าง Network Card กับ สาย Cable ซึ่ง อุปกรณ์ T-Connector นั้นจะมีอยู่ 3 ขา ขาที่ 1 นั้นเป็นขาที่เชื่อมต่อกับ Network Card ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนอีก 2 ขานั้นจะเชื่อมต่อกับสาย Cable หรือ อุปกรณ์ Ground Terminator ในกรณีที่ไม่มีสาย Cable มาเชื่อมต่อแล้ว









สาย Fiber Optic



Fiber Optic หรือใยแก้วนำแสงคือสายนำสัญญาณข้อมูลในระบบเครือข่ายที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ไกลหลายๆกิโลเมตรและมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก รองรับการส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากมายมหาศาลได้ Fiber Optic ถูกใช้แพร่หลายในโครงข่ายการส่งข้อมูลความเร็วสูง เช่น ระบบเอสดีเอช (SDH) หรือระบบโซเน็ท (SONET), ระบบเส้นใยนำแสงสู่บ้าน
(Fiber To The Home: FTTH) เป็นต้น  การสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสง เป็นระบบการสื่อสารที่ใช้แสงผสมกับข้อมูลที่ต้องการส่งในรูปแอนาลอกหรือแบบดิจิตอลแล้วจึงส่งผ่านตัวกลางคือใยแก้วเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กมากมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น ไมครอน ซึ่งมีขนาดเล็กมากทำให้สายเคเบิล1 เส้นสามารถรวมเอาสายสัญญาณหลายเส้นเข้าด้วยกัน แสงจะถูกส่งผ่านไปยังตัวรับคือโฟโตดีเทคเตอร์เพื่อแปลผลค่าสัญญาณจากแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แปรผลเป็นข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง การสื่อสารผ่านเส้นใยนำแสงมีจุดเด่นคือสามารถส่งสัญญาณหลายๆช่องไปได้พร้อมๆกัน โดยใช้เทคนิคการผสมสัญญาณ (Multiplexing) ที่นิยมใช้คือการทำ WDM (Wavelength Divison Multiplexing) เป็นการส่งสัญญาณแต่ละช่องด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกัน ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้มากมหาศาล เมื่อเทียบกับการสื่อสารผ่านสายทองแดงแบบเดิม 





LAN cable testers
 (เครื่องทดสอบสาย LAN)


เครื่องทดสอบสาย LAN (LAN cable testers) เป็นเครื่องมือขนาดพกพา ใช้สำหรับงานติดตั้งและงานตรวจซ่อมแก้ไขระบบเครือข่าย LAN ใช้ตรวจค้นและแก้ไขปัญหาของระบบเครือข่าย LAN ที่หน้างานได้อย่างรวดเร็ว สามารถระบุตำแหน่งของสายที่เกิดปัญหา และสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหา




โมเด็ม (Modem)


เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ คอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็ม จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่ง และภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน (Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด, โมเด็มภายนอก (External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็นแบบ PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ สำคัญตัวหนึ่งในการทำทั้งเครื่องศูนย์บริการและเครื่องลูกข่ายสามารถสื่อสารติดต่อกันได้ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรให้สามารถใช้ร่วมกันได้และการควบคุมระบบความปลอดภัยบนเครือข่าย



Access Point 

Access Point (AP) คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกระจายสัญญาณไวร์เลส เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวหนึ่งที่สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายจากระบบเครือข่ายแลน(Lan)ได้ง่ายที่สุด แอคเซสพอยท์ทำหน้าที่กระจายสัญญาณออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ ซึ่งลักษณะของตัวแอคเซสพอยท์นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่กับผู้ผลิตจะดีไซน์ให้มีรูปร่างหน้าตาแบบไหน แต่ที่เหมือนกันก็คือ AP จะมีช่องเชียบสายแลนเพียงช่องเดียวเท่านั้น ช่องดังกล่าวจะเป็นช่องที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือใช้เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คจากเครือข่ายแลนเข้ากับเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย การทำงานของ AP จะทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11 ซึ่งทำให้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานนี้สามารถใช้งาน AP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ



ADSL 
ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีโมเด็มอย่างหนึ่งของ DSL ที่ใช้คู่สายทองแดง ในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูง โดยใช้วิธีส่งสัญญาณในย่านความถี่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์ทั่วไป ซึ่งมีผลทำให้เราสามารถใช้งาน Internet ความเร็วสูง (ADSL) พร้อมกับการใช้งานโทรศัพท์ธรรมดาได้ สำหรับความเร็วในการรับข้อมูลเข้า (Down) จะอยู่ที่ 8 Mbps และการส่งข้อมูล (Up) จะอยู่ที่ 1 Mbps




ADSL MODEM 



(Asymmetric Digital Subscriber Line)เป็นมาตรฐานของโมเด็มเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลดทองแดง ให้เป็นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูงโดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และด้วยความเร็วขนาดนี้มากเพียงพอสำหรับงานต่าง ๆ เช่น
• งานเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
• การให้บริการแพร่ภาพ Video On Demand
• ระบบเครือข่าย LAN
• การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting)
ADSL มีโครงสร้างของระบบสื่อสารข้อมูลเป็นแบบไม่สมมาตร (Asymmetric)

ซึ่งหมายความว่าข้อมูลที่ส่งมาจาก ISP ไปยังผู้ใช้บริการจะมีความเร็วที่มากกว่า ข้อมูลที่ส่งขึ้นไปจากผู้ใช้บริการไปยัง ISP ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบผู้ใช้งานตามบ้านส่วนใหญ่มักเป็นการ Download ข้อมูลเสียมากกว่าการ Upload ข้อมูล



Splitter 
คือ อุปกรณ์แยกสัญญาณเสียงกับสัญญาณ ADSL ที่ถูกส่งมาพร้อมกันภายในคู่สายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน ซึ่งทำให้การติดตั้ง Splitter ร่วมกับการใช้งาน hi-speed Internet (ADSL) เป็นอย่างมากเนื่องจะช่วยทำให้ปัญหาสัญญาณรบกวนภายในคู่สายลดลง เพราะว่าหากเกิดสัญญาณรบกวนภายในคู่สายโทรศัพท์จะทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีปัญหาตามไปด้วย ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการมีสัญญาณรบกวนคือ หลุดบ่อย, เชื่อมต่อไม่ได้เนื่อง Status Link ADSL กระพริบ, Low Speed



Wireless Broadband Router


ทำหน้าที่ในการต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์ (ADSL) หรือ เคเบิลทีวี (UBC) ด้วยเทคโนโลยี Broadband Router ซึ่งมีฟังชันการทำงานเป็นตัวค้นหาเส้นทาง, NAT (Network Address Translation) , Firewall , VPN ๆลๆ มาผสมผสานเข้ากับ Access Point ทำให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายสามารถสื่อสารข้อมูลไปยังระบบอินเทอร์เน็ต
                                                                 
Firewall

 เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ "ป้องกันผู้บุกรุกระบบ" ในเครือข่าย(Network) โดยทำหน้าที่เป็นตัวคั่นกลางระหว่าง Network ที่เราต้องการจะปกป้อง กับ Network ที่เราไม่ไว้ใจ ตามกฎ(Rule)หรือนโยบาย(Policy)ที่ผู้ดูแลระบบ(Admin)ได้ตั้งไว้

คุณสมบัติของ Firewall

Protect Firewall เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกัน โดยข้อมูลที่เข้า-ออก Network จะถูกกำหนดเป็น Rule หรือ Policy เพื่อใช้บังคับในการสื่อสารภายใน Network
Rule Base หรือ Policy คือข้อกำหนดในการควบคุมการเข้า-ออกของข้อมูลภายใน Network
Access Control คือการควบคุมระดับการเข้าถึงข้อมูลต่างๆใน Network